แอบดูสังคมผู้สูงอายุญี่ปุ่นตอนที่ 3: DayCare สถานที่ ‘ลั้นลา’ ของเหล่าชราชน

Dr.Kanapon Phumratprapin
3 min readJan 5, 2017

--

ถ้าพรุ่งนี้เราตื่นนอนขึ้นมาแล้ว เราไม่ต้องทำงาน เราจะใช้ชีวิตกันอย่างไร ?

ท่านผู้อ่านหลายท่านน่าจะอยู่ในช่วง GenX-GenY ซึ่งยังไม่เข้าสู่วัยเกษียณกัน เคยมีคำถามแบบนี้บ้างไหมครับ ?

ถ้าเวลานี้เรายังอยู่ในวัยเรียนหนังสือ หรือ วัยทำงานเราคงไม่คิดถึงเรื่องนี้เท่าไหร่ เราน่าจะฝันถึงวันที่เราไม่ต้องทำงาน วันที่เราไม่ต้องสอบ และ เราคงรู้สึกเหมือนกันว่าสิ่งที่เราอยากทำมีมากมาย เวลาไม่พอที่จะทำ……

วันว่าง….. คงดูเป็นเรื่องที่ไกลตัว

แต่เมื่อถึงวันที่เราเกษียณอายุ ทุกวันคือวันว่างอย่างแท้จริง

วันว่าง….. นั้นเราจะทำอะไรกันดี ?

Day Care คืออะไร ?

Day care คือสถานที่ดูแลผู้สูงอายุตอนกลางวัน ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เทียบได้กับ เนอสเซอรี่ที่รับฝากเลี้ยงเด็ก ตอนคุณพ่อคุณแม่ ไปทำงาน

Day care รูปจาก http://www.japantimes.co.jp/wp-content/uploads/2013/06/nn20130618a8a.jpg
Adult Day-care : รูปจาก http://nirvanaadultdaycare.com/wp-content/uploads/2014/10/Nirvana-Adult-Daycare-1year-1224.jpg

Day Care สำคัญอย่างไร ?

สำหรับผู้สูงอายุที่อยากใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน ไม่ย้ายเข้า Nursing home / Retirement community ผมคิดว่า Day Care เป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญ เพราะเป็นส่วนเติมเต็มด้านกิจกรรมทางสังคม และ การที่มีปฏิสัมพันธ์เป็นกุญแจสำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงวัย

ในเมืองไทยนั้น เราอาจเห็น Day Care เต็มรูปแบบไม่เยอะมาก ตัวอย่างที่น่าสนใจคือสถาบันประสาท ที่จัดทำ Day care สำหรับผู้ป่วยสมองเสื่อม ผมเคยได้ไปเยี่ยมชม และ รู้สึกว่าทำได้ดีเป็นอย่างมาก

DAY CARE : JAPAN

เนื่องจากเรายังมีตัวอย่างของ Day Care Center ที่ไม่เยอะมากในเมืองไทย วันนี้ผมจะพาไปดู “Day Care ” ที่เมือง Chiba ของประเทศญี่ปุ่นกันครับ

Day Care แห่งนี้มีชื่อเต็มๆว่า “ Funabashishi Minami Rojin Fukushi Center “ ซึ่งเป็นโครงการของ เทศบาล เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 1999 ( 18 ปีแล้ว )

สถานที่นั้นเป็นตึก 3 ชั้น ตั้งอยู่กลางชุมชนเมือง ถ้าไม่มีใครบอกก่อนว่าเป็น Day Care ผมก็คงไม่สังเกตเห็น

ภาพถ่ายจากภายนอกของ Funabashishi Minami Rojin Fukushi Center

ใครสามารถเข้ามาใช้บริการได้บ้าง ?

คนที่อยู่ในชุมชนสามารถเข้ามาใช้บริการได้ฟรี !!

ส่วนถ้าเป็นคนภายนอกเสียค่าบริการวันละ 200 เยน (~70 บาท)

อายุของผู้ใช้บริการคือ 60–96 ปี

โดยเฉลี่ยมีคนใช้บริการ 200 คน/วัน

เจ้าหน้าที่ดูแล 13 คนต่อวัน

เจ้าหน้าที่ Day Care ในเครื่องแบบที่เป็นมิตร

สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ

ห้องตรวจสุขภาพ วัดความดัน

มีพยาบาลนั่งประจำห้องพยาบาลเพื่อวัดความดัน และให้คำปรึกษา ส่วนห้องออกกำลังกาย ก็มีลู่วิ่ง และเก้าอี้นวด ในวันที่ผมไปเข้าเยี่ยมชม ก็พบว่ามีคิวรออยู่หนาแน่นคึกคักเลยทีเดียว

ห้องออกกำลังกาย และ ห้องตรวจสุขภาพที่มีคุณพยาบาลนั่งอยู่ประจำ รอให้คำปรึกษา

ห้องคาราโอเกะขนาดใหญ่

อันนี้เป็นสิ่งที่ผมรู้สึกว่าเป็นทีเด็ดมากครับ ทุกคนจะหิ้วชาร้อน ของกินมาจากที่บ้าน จับกลุ่มนั่งกันเป็นโต๊ะ เลือกเพลงและนั่งรอคิวที่โต๊ะ จะเห็นที่เวทีมีป้ายแสดงคิวอยู่ ( อย่างคิวนี้คือเบอร์ 9 นั่นเอง) เสียงร้องอาจไม่ต้องเนี้ยบกริบ แต่อารมณ์นี้มาเต็มครับ บอกเลย

คุณลุงคิวเบอร์ 9 กำลังบรรเลงเพลง

ห้องอาบน้ำรวม แยกชายหญิง

อย่างที่เรารู้กันครับ ห้องอาบน้ำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับชาวญี่ปุ่น มันเป็นศูนย์รวมใจอย่างแท้จริง ซึ่งห้องนี้ผมคงไม่สามารถเก็บบรรยากาศมาฝากได้นะครับ

อาบน้ำเรื่องใหญ่ครับ

ห้องดูทีวี

ห้องนี้ตั้งอยู่ตรงกลาง มีเปิดรายการทีวี รายการข่าววนไป และมีเครื่องเล่น VDO ให้เลือกหนังได้ ผมคิดว่าทุกคนก็คงมีโทรทัศน์ที่บ้านกัน แต่เวลามีเพื่อนมาร่วมรับชมด้วย ได้คุยกันมันคงสนุกกว่า

บรรยากาศห้องดูทีวี

ห้องสมุด

ห้องนี้เป็นห้องเงียบๆ เต็มไปด้วยหนังสือ คนไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่นัก

ห้องสมุด

ห้องกิจกรรมต่างๆ

การดวลหมากล้อม ระหว่างหัตถ์เทวะรุ่นใหญ่
อันนี้ผมไม่รู้ว่ามันคือเกมส์อะไรจริงๆครับ
กิจกรรมปั้นดินเผา

บรรยากาศโดยรวม

ประตูทางเข้า และ ที่เก็บรองเท้า
เมนูอาหารประจำวัน
ห้องครัว

ประเทศไทยต้องการ Day Care หรือไม่ ?

ผมเองทำ Health at Home ก็มีความเชื่อมั่นในแนวทาง Aging in Place หรือการใช้ชีวิตในวัยสูงอายุที่บ้านของตัวเอง แต่เราก็ไม่สามารถจะเก็บตัวอยู่กับบ้านได้ทั้งวัน 24 ชั่วโมง อย่างไรก็ดีเราก็ต้องมีช่วงเวลาที่ออกไปใช้ชีวิตข้างนอก ออกไปพบปะผู้คน

Day Care ในสังคมผู้สูงอายุ อาจจะไม่ต้องเป็นรูปแบบนี้ก็เป็นได้ เพราะอย่างที่ญี่ปุ่นนี้ก็ทำมาตั้ง 18 ปีแล้ว ผมคิดว่ามันอาจเป็นการปรับให้เข้ากับ lifestyle ของคนยุคนี้ เช่น ห้างสรรพสินค้า ที่มีโซนให้ผู้สูงอายุมาเจอกัน ( ซึ่งปัจจุบันคุณพ่อ คุณแม่เราก็ไป กันอยู่แล้ว ) Fitness ที่อาจออกแบบโปรแกรมให้ผู้สูงอายุทำในตอนกลางวัน

ผมเชื่อว่าเราไม่ต้องทำทุกอย่างขึ้นใหม่หมด เช่น รัฐบาลคงไม่ต้องประกาศว่า เราจะทำ 1 daycare 1 ตำบล อะไรแบบนี้ (อุ๊บซ์) ผมคิดว่าของที่เรามีอยู่แล้ว มันก็มีดีของมันอยู่ เพียงใช้ความคิดสร้างสรรค์นิดๆหน่อย บวกกับองค์ความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุ เราก็อาจปรับธรุกิจ หรือ บริการที่เรามีอยู่เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสังคมผู้สูงอายุที่กำลังเติบโตขึ้นทุกวันๆ

แต่ถ้าวันนี้เรายังไม่มี Day Care เจ๋งๆ เราเองที่เป็นลูก เป็นหลาน ก็อย่าลืมชวนคุณพ่อ คุณแม่ อากง อาม่า เราไปเที่ยว หรือ ไปเยี่ยมเยียนนะครับ เพราะไม่ว่าอะไรก็ไม่สามารถทดแทนลูกหลานได้เลย ^^

อ่านตอนก่อนหน้านี้

แอบดูสังคมผู้สูงอายุตอนที่ 1 : บ้านพักคนชราไฮโซ

แอบส่องสังคมผู้สูงอายุญี่ปุ่น ตอนที่ 2 : โรงแรมรับฝากผู้สูงอายุ

เกี่ยวกับผู้เขียน

นพ.คณพล ภูมิรัตนประพิณ ( ตั้ม )

ผมสนใจเรื่องการดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และ เรื่องนวัตกรรมเทคโนโลยี

ถ้ามีใครสนใจเรื่องเดียวกันก็กด like page มาร่วมพูดคุยกันนะครับ

ปัจจุบันเป็น อายุรแพทย์ และ ผู้ร่วมก่อตั้ง Health at Home

www.healthathome.in.th

Health at Home : บริการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน

ติดต่อ : 02–080–3936

Facebooke fanpage

Line official : @healthathome หรือ กด link นี้ https://line.me/R/ti/p/%40healthathome

--

--

Dr.Kanapon Phumratprapin
Dr.Kanapon Phumratprapin

No responses yet